1. มาตรฐานและองค์ประกอบของทางหลวงโครงการ

แนวคิดการออกแบบรูปตัดทางหลวงของโครงการโดยนำเสนอให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวง มีองค์ประกอบของทางหลวง ดังนี้

 1. เขตทางหลวง เนื่องจากเป็นโครงการขยายจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร จึงยึดเขตทางเดิมเป็นหลัก คือ 30 เมตร ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องขยายเขตทาง จะนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบกับทางกรมทางหลวงต่อไป

 2. ความกว้างช่องจราจร กำหนดความกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร

 3. ความกว้างไหล่ทาง ไหล่ทางด้านนอกกำหนดความกว้างไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร สามารถปรับเพิ่มได้ตามความเหมาะสมของการออกแบบเส้นทางช่วงนั้นๆ ไหล่ทางซ้ายมีไว้เพื่อเป็นพื้นที่ฉุกเฉินให้รถเสียสามารถจอดเพื่อรอการซ่อมอย่างเพียงพอและปลอดภัย

4. ประเภทผิวจราจรและไหล่ทาง ตามมาตรฐานชั้นทางชั้นที่ 1 กำหนดผิวทางเป็นผิวทางชั้นสูง ได้แก่ ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตหรือผิวทางคอนกรีต

5. ความลาดชันคันทาง ทั่วไปกำหนดความลาดชัน 2 : 1 และเปลี่ยนแปลงให้ชันขึ้นตามความสูงของดินตัดและดินถม

6. จำนวนช่องจราจร ตามมาตรฐานกำหนดเป็นทาง 4 ช่องจราจร โดยทั้งนี้กำหนดรูปแบบการจัดการจราจรเป็นแบบแบ่งแยกทิศทาง โดยออกแบบประเภทเกาะกลางตามความเหมาะสม

7. สะพาน เป็นสะพาน 4 ช่องจราจร ซึ่งรูปแบบของรูปตัดด้านมิติความกว้างกำหนดให้มีความกว้างเท่าความกว้างของผิวทางของทางหลวงแต่ละรูปแบบ

8. องค์ประกอบทางหลวงอื่นๆ จะต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐาน กรมทางหลวง และมาตรฐานที่เชื่อถือได้เช่น AASHTO

2. องค์ประกอบในการพิจารณากำหนดรูปแบบการพัฒนาโครงการ

การกำหนดรูปแบบการพัฒนาโครงการที่เป็นไปได้ทั้งหมด โดยจะคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้

    1. ปริมาณการจราจร กล่าวคือ รูปแบบการพัฒนาโครงการจะต้องสอดคล้องกับผลการศึกษาด้านปริมาณจราจรที่จะมาใช้เส้นทาง โดยการพิจารณาถึงระดับการให้บริการ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
    2. พื้นที่ย่านชุมชน เนื่องจากการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเดิม จะอยู่ประชิดแนวเขตทาง การปรับปรุงขยายถนนโครงการ อาจทำให้ระดับของถนนอยู่สูงกว่าอาคารบ้านเรือนมาก ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาโครงการ จะต้องไม่กระทบต่อลักษณะการดำเนินชีวิตของย่านชุมชนที่มีอยู่เดิมตามแนวเขตทาง
    3. การพัฒนาโครงการในทุกๆ รูปแบบจะอยู่ภายในเขตทางเดิมไม่ต้องกังวลเรื่องการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม
    4. คำนึงถึงความปลอดภัยในการสัญจรของทั้งในชุมชนและผู้ใช้แนวเส้นทาง
3. การกำหนดรูปแบบการพัฒนาโครงการเบื้องต้น

จากองค์ประกอบในการพิจารณากำหนดรูปแบบการพัฒนาโครงการดังกล่าว จึงได้นำมากำหนดรูปแบบ ในการพัฒนาโครงการได้ทั้งหมด 4 รูปแบบ ที่ครอบคลุมลักษณะทางกายภาพของภูมิประเทศตามแนวเส้นทางโครงการ ดังนี้

       1. รูปแบบที่ 1 : การพัฒนาพื้นที่ที่ 1 ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบ มีชุมชนประชิดเขตทาง (กม.49+500 ถึง กม.58+000)

เป็นรูปแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบยก ดินถมและปลูกหญ้า กว้าง 4.6 เมตร มีทางเท้า รูปตัดทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบยก ดินถมและปลูกหญ้า กว้าง 4.60 เมตร ความกว้างช่องจราจรกว้างช่องจราจรละ 3.25 เมตร ความกว้างไหล่ทางด้านนอกกว้างข้างละ 2.50 เมตร โดยแบ่งแยกทิศทางจราจรด้วยเกาะกลางแบบยก (Raised Median) กว้าง 4.60 เมตร ดังแสดงใน รูปที่ 1

รูปที่ 1 รูปแบบพื้นที่ที่ 1 ทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบยก ดินถมและปลูกหญ้า
กว้าง 4.60 เมตร มีทางเท้า

2. รูปแบบที่ 2 : การพัฒนาพื้นที่ที่ 2 ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบไม่มีชุมชนประชิดเขตทาง (กม.32+500 ถึง
กม.36+000 และ กม.41+000 ถึง กม.47+000)

เป็นรูปแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต รูปตัดทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต ความกว้างของช่องจราจรกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร ความกว้างไหล่ทางด้านนอกกว้างข้างละ 2.50 เมตร ความกว้างไหล่ทางด้านในกว้างข้างละ 1.00 เมตร โดยแบ่งแยกทิศทางจราจรด้วยกำแพงคอนกรีต (Barrier) กว้าง 0.60 เมตร ดังแสดงใน รูปที่ 2

รูปที่ 2 รูปแบบพื้นที่ที่ 2 ทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต

3. รูปแบบที่ 3 : การพัฒนาพื้นที่ที่ 3 ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่เนินเขาและภูเขา (กม.37+000 ถึง กม.41+000)

รูปแบบเป็นทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต รูปตัดทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต ความกว้างของช่องจราจรกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร ความกว้างไหล่ทางด้านนอกกว้างข้างละ 2.50 เมตร ความกว้างไหล่ทางด้านในกว้างข้างละ 0.50 เมตร โดยแบ่งแยกทิศทางจราจรด้วยกำแพงคอนกรีต (Barrier) กว้าง 0.60 เมตร

รูปที่ 7.1-4 รูปแบบพื้นที่ที่ 3 ทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต

3. รูปแบบที่ 3 : การพัฒนาพื้นที่ที่ 4 แนวเส้นทางผ่านพื้นที่ชุมชนที่มีค่าระดับซ้ายทางและขวาทางต่างกัน (กม.30+000 ถึง กม.32+500, กม.36+000 ถึง กม.37+000 และ กม.47+000 ถึง กม.49+500)

รูปแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร แยกคันทางต่างระดับ ความกว้างของช่องจราจรกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร ความกว้างไหล่ทางด้านนอกกว้างข้างละ 2.50 เมตร โดยแบ่งแยกทิศทางจราจรด้วยคันทางต่างระดับ เพื่อให้ระดับของคันทางที่ก่อสร้างใกล้เคียงอาคารบ้านเรือนที่มีอยู่เดิมมากที่สุด ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่อาศัยอยู่สองข้างทางในแนวเส้นทางโครงการ และสามารถเชื่อมหรือเข้าใช้ทางหลวงได้สะดวก

รูปที่ 4 ทางหลวง 4 ช่องจราจร รูปแบบแยกคันทางต่างระดับ